บทที่ 1 ผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์

บทที่ 1
ผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์
วัตถุประสงค์
1.สามารถบอกความหมายของรูปแบบการผลิตได้
2.สามารถบอกถึงความแตกระหว่างสร้าใหม่กับดัดแปรงผลงานใหม่ได้
3.เป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม


ภาพที่ 1 งานประดิษฐ์

  ผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์เกิดจากฝีมือมนุษย์ สร้างสรรค์ขึ้นเนื่องจากความจำเป็นในการดำรงชีวิต เมื่อผลิตออกมามีจำนวนมากใช้ไม่หมดจึงนำมาจำหน่ายและกลายเป็นอาชีพ


รูปแบบการผลิตงานประดิษฐ์
1.การเลียนแบบจากของจริง แนวคิดนี้ใช้ธรรมชาติเป็นแม่แบบ เช่น รูปทรงจากดอกไม้ สัตว์ พืช โดยนำของจริงมาเป็นต้นแบบตั้งแต่โครงสร้าง ขนาด สัดส่วน รูปทรง สี ผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์ทีี่ลอกเลียนแบบธรรมชาติ เป็นต้นแบบการสร้างงานมีกระบวนการดำเนินงานดังนี้
   1.1 แกะแบบ  นำของจริง เช่น ดอกไม้ แกะกลีบดอกออกทีละชั้นบันทึกข้อมูลไว้ว่ามีกี่กลีบ และใน 1 ดอกมีกี่ชั้น วางเรียบตามลำดับจากกลีบชั้นในสุดไปถึงชั้นนอกสุด
   1.2 ลอกแบบ นำกลีบดอกแต่ละชั้นมาวาดตามรูปแบบของกลีบดอกทุกกลีบ และนำแบบกระดาษลอกลงวัสดุที่จะทำ
  1.3 เลียนแบบ ชั้นนี้เป็นการเลียนแบบสีของดอกไม้ ย้อมสีกลีบดอกไม้ทุกกลีบให้ใกล้เคียงกับสีธรรมชาติของดอกไม้ต้นแบบ 
  1.4 รีดกลีบดอก เนื่องจากวัสดุที่ใช้ประดิษฐ์ยังไม่มีรูปทรงของกลีบดอกที่เหมือนธรรมชาติ จึงต้องใช้เครื่องรีดกลีบดอกไม้ประดิษฐ์ช่วยรีดกลีบดอกให้มีรูปทรงกลีบเหมือนธรรมชาติของกลีบ
  1.5 ประกอบเข้าดอก นำกลีบดอกไม้ที่รีดกลีบดอกแล้วมาเข้าดอกตามลำดับจากด้านในสุดไปถึงด้านนอกสุด ให้เหมือนของตัวอย่างตามแบบของจริง
   

  ภาพที่ 2 ดอกไม้ประดิษฐ์

2.การสร้างสรรค์งานใหม่ เป็นงานประดิษฐ์ที่เกิดจากความต้องการหนีความจำเจอยากให้สิ่งใหม่ๆเกิดขึ้น มีแนวทางการผลิต 2 แบบคือ
  2.1 การดัดแปลงจากงานประดิษฐ์เดิม อาจจะคงรูปแบบเดิมแต่เปลี่ยนแปลงเรื่องการใช้วัสดุ สี ลวดลายหรือกระบวนการผลิตใหม่ที่พัฒนาให้ง่ายขึ้น สวยงามขึ้น ทำให้ดูแปลใหม่และน่าสนใจกว่าเดิม ปัจจัยสำคัญที่ดัดแปลงจากงานประดิษฐ์เดิมเป็นงานใหม่เป็นที่ยอมรับประกอบด้วย
       1. คุณประโยชน์ที่มีคุณภาพดีกว่าหรือมากกว่าเดิม
       2. มีความแปลกใหม่หรือดูหรูกว่าเดิมและราคาถูก
       3. มีการใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน
   2.2 งานประดิษฐ์สร้างใหม่ การคิดสร้างสรรค์งานใหม่เป็นความคิดริเริ่มที่ไม่มีใครทำมาก่อน ทำให้เกิดความรู้สึกแปลกใหม่ ตื่นตาตื่นใจ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เหมาะสมกว่าสิ่งที่มีอยู่
   การสร้างสรรค์งานใหม่เกิดขึ้น 2 ทาง คือ
      1. เกิดจากการจิตนาการ เป็นความคิดฝันที่เกิดขึ้น แล้วนำมาสร้างให้เป็นจริง
      2. เกิดจากมีความรู้ แล้วนำมาพัฒนาเป็นความคิดใหม่ โดยการนำข้อมูลหรือความรู้เดิมมาผสมผสานกับประสบการณ์เป็นความคิดสร้างสรรค์ใหม่
   องค์ประกอบการสร้างสรรค์งานใหม่ ประกอบด้วย
       1. เป็นสิ่งใหม่ ไม่ได้ลอกเลียนแบบใคร
       2. ใช้งานได้จริง ไม่ใช่จิตนาการเพ้อฝัน
       3. มีความหมาย เป็นที่ยอมรับไม่ขัดกับวัฒนธรรม

3. การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม แนวคิดในการสร้างงานประดิษฐ์นี้เกิดจากการใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เสนอเรื่องราวด้วยปรัชญา ความเชื่อ ความศรัทธา และวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชาติตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
  รูปแบบงานประดิษฐ์์ในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม สามารถผลิตงานได้ 2 แนวทางดังนี้
     3.1 การรักษาอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมเดิม แนวทางการผลิตงานลักษณะนี้จะรักษาและคงสภาพเดิมทุกอย่าง ตั้งแต่โครงสร้าง รูปแบบ ขนาด สัดส่วนกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นจนสำเร็จเป็นชิ้นงานเป็นแบบดั้งเดิม
    3.2 การจำลองแบบ การผลิตงานในรูปแบบนี้เป็นการทำเลียนแบบของจริงแต่ย่อส่วนให้เล็กลงทักมีจุดประสงค์เพื่อประหยัดเนื้อที่ในการเก็บ อำนวยความสะดวกในการขนส่งหรือพกพา ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของงานผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์ประเภทของขวัญ ของที่ระลึก ของสะสมเก็บไว้เป็นตัวอย่างแก่คนรุ่นหลัง

อ้างอิงหนังสือ
นางสาวสุชาดา วราหพันธ์.  (2557).  ผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์:  งานประดิษฐ์.  พิมพ์ครั้งที่ 1.  กรุงเทพมหานคร:  บริษัท สำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด.

อ้างอิงภาพที่ 1.

อ้างอิงภาพที่ 2.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น