บทที่ 4 เทคโนโลยีกับงานประดิษฐ์

บทที่4
 เทคโนโลยีและงานประดิษฐ์
วัตถุประสงค์
1.สามารถอธิบายเทคโลโลยีกับศาสตร์อื่น
2.สามารถเข้าใจกระบวนการออกแบบของงานประดิษฐ์
3.สามารถรู้ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ในการออกแบบได้
ความหมายเทคโนโลยี
        เทคโนโลยีในความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานพ. ศ. 2542 หมายความว่า วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม


จากข้อความข้างต้นเทคโนโลยีจึงเป็นการนำเอาความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผลิตเครื่องมืออุปกรณ์มาใช้ให้เกิดผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณมาก
รูปที่ 1 ที่ใส่ดินสอ
การใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับการประดิษฐ์       งานประดิษฐ์ส่วนใหญ่เป็นงานที่สร้างสรรค์ด้วยฝีมือของมนุษย์ ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่ได้จึงมีความยากที่จะออกมาให้เหมือนกันทุกชิ้นและ ปริมาณการผลิตอยู่ในจำนวนจำกัด จึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีช่วยในการผลิตได้ทั้งคุณภาพที่ดีและปริมาณมาก การใช้เครื่องมือคอมพิวเตอร์ในงานประดิษฐ์คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ประกอบการออกแบบที่ใช้เทคโนโลยีสูง ใช้ในงานประดิษฐ์ตั้งแต่การสร้างแบบ โครงร่างและเขียนแบบเบื้องต้น เขียนแบบรายละเอียด การคำนวณขนาดของโครงร่าง วัสดุ อุปกรณ์ในการผลิต การคำนวณราคา เช่น ค่าวัสดุ ค่าแรงใช้ให้ประหยัดเวลาและแรงงาน ดังนั้นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบมีประโยชน์ดังนี้ 1.สะดวดรวดเร็วใการออกแบบและเขียนแบบผลิตภัณฑ์บนจอภาพได้ทั้งระบบ 2 มิติและ 3 มิติตามต้องการ
2.ลดต้นทุนในการออกแบบการผลิตซึ่งสามารถแก้ไขจากจอภาพได้ทัลดต้นทุนในการออกแบบการผลิตซึ่งสามารถแก้ไขจากจอภาพได้ทันที
3.ประหยัดเวลาในการทำงาน โดยลดขั้นตอนการทำแบบจำลองชิ้นงาน
4.ช่วยให้ใช้ทรัพยากรได้คุ้มค่า มีส่วนเหลือทิ้งน้อยที่สุด
      5.เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลต่างๆไว้เพื่อใช้ในการสืบค้นครั้งต่อไป
       
      คอมพิวเตอร์ในการออบแบบ จึงใช้ในงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งในงานประดิษฐ์ที่มีกรรมวิธีในการผลิตต่างแตกกัน จึงเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีให้เหมาะสมโดยแยกประเภทดังนี้
  1.งานประดิษฐ์ประเภทดอกไม้ประดิษฐ์ ในระบบอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการผลิตปริมาณมากและใช้เวลาน้อยได้แก่ 
1.1เครื่องตอกกรีบดอกไม้
1.2เครื่องอัดกรีบ มีสองระบบ แบบคันโยกและระบบไฮดรอลิก
1.3เครื่องสลัดสี
1.4ตู้อบกรีบดอก
   2.งานประดิษฐ์ประเภทใช้แม่แบบ เทคโนโลยีที่ผ่านการออกแบบจากคอมพิวเตอร์สร้างจากงานแม่แบบโดยการทาบและร่างบนกระดาษแข็ง ตัดไว้เป็นแบบตัด เมื่อต้องการผลิตชิ้นงานนำเอามาทาบบนวัสดุที่จัดวางซ้อนกันหลายชิ้น
   3.งานประดิษฐ์ประเภทใช้แบบหล่อ เป็นผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์เรซิ่น ปูนปลาสเตอร์ เทียนหอม ใช้เทคนิคการผลิตโดยวิธีการหล่อจากต้นแบบ
   4.งานประดิษฐ์ประเภทพิมพ์ลายบนวัสดุ ใช้แผ่นแบบสกรีนลายวางบนวัสดุเช่น ผ้า กระดาษ พลาสติกและใส่สีสำหรับพิมพ์ลงบนแผ่นสกรีน ปาดสีให้ลงช่องลาย
   5.งานประดิษฐ์ประเภทถักทอ เทคโนโลยีที่ใช้กับการถักหรือทอนี้สามารถใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงาน
การผลิตงานประดิษฐ์ในงานอาชีพ
   การผลิตงานประดิษฐ์ในงานอาชีพ จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ ผสมผสานกันโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานการผลิตจำนวนมากและการตลาดจำนวนที่เหมาะสม ดังนั้นนักออกแบบผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานการสร้างงานศิลปะประดิษฐ์ ดังนี้
1..รู้จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของการประดิษฐ์ชิ้นงานเพื่อความสัมพันธ์ของการออกแบบและเลือกใช้วัสดุในการผลิต
2.รู้คุณสมบัติ ข้อจำกัดของวัสดุที่จะใช้ จะได้เลือกให้เหมาะสม
3.กระบวนการประดิษฐ์งาน
   3.1 รู้พื้นฐานการออกแบบ และหลักการออกแบบ 
   3.2 ขั้นตอนการออกแบบ 
   3.3 การแก้ปัญหา และการปรับปรุงชิ้นงาน 
   3.4 รู้วิธีการดัดแปลงให้ใช้งานได้คุ้มค่า 
   3.5 ผลงานมีความประณีต และใช้ได้จริง
      
       จากที่กล่าวว่าผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์ควรมีความรู้พื้นฐานการออกแบบและหลักการออกแบบแล้วยังต้องคำนึงถึงปัจจัยพื้นฐาน 10 ประการ ของการผลิตงานประดิษฐ์ที่สำเร็จออกมาดังนี้
    1.หน้าที่ใช้สอย สามารถตอบสนองประโยชน์ใช้สอยตามที่ผู้บริโภคต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ
    2.ผลิตภัณฑ์มีความสวยงามทั้งขนาด รูปทรง สีสันสวยงามน่าใช้ 
    3.สะดวกในการใช้งาน 
    4.มีความปลอดภัย ไม่เกิดอันตรายต่อผู้ใช้หรือทำลายสิ่งแวดล้อม 
    5.แข็งแรงทนทาน ใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ 
    6.การกำหนดราคา พิจารณาจากกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ผลิตภัณฑ์ว่าเป็นกลุ่มใด อาชีพอะไรฐานะระดับใด เพื่อช่วยในการกำหนดวัสดุอุปกรณ์และวิธีการผลิต
    7.การออกแบบผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์ ควรเลือกวัสดุที่มีคุณสมบัติด้านต่างๆ ได้แก่ ความทนทาน ผิวสัมผัสความรวดเร็วในการผลิตการดูแลรักษารวมทั้งการรักษาสิ่งแวดล้อม 
    8 .กรรมวิธีในการผลิตง่าย รวดเร็ว ประหยัดค่าวัสดุ ค่าแรง และค่าใช้จ่าย 
    9. การบำรุงรักษาซ่อมแซมภายหลังการใช้งานเกิดชำรุดเสียหาย มีขีดความสามารถในการซ่อมแซมได้
   10.คำนึงถึงการประหยัดค่าขนส่ง และความสะดวกในการพกพา
   
      จากที่กล่าวมานี้อาจจะสรุปคุณสมบัติที่ดีของงานประดิษฐ์ที่จะผลิตในงานอาชีพได้ดังนี้
  1. มีความแปลกใหม่ ไม่ซ้ำในท้องตลาด มีประโยชน์ใช้สอย รูปแบบใหม่หรือแตกต่างจากเดิม เหมาะสมกับความต้องการของตลาด 
  2. มีที่มา ไม่ว่าจะเป็นต้นกำเนิด ความคิดรวบยอดของการออกแบบ 
  3. ระยะเวลาเหมาะสมในการนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด เช่นผลิตภัณฑ์ของขวัญในช่วงเทศกาลปีใหม่ วันแห่งความรัก วันแม่ เป็นต้น
  4. ราคาเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์
  5. มีข้อมูลข่าวสารของผลิตภัณฑ์ด้านประโยชน์ใช้สอยวิธีการใช้งานวันผลิตและวันหมดอายุผลิตภัณฑ์เป็นที่นิยมของกลุ่มเป้าหมายหรือสังคมและไม่เสื่อมเสียต่อขนบธรรมเนียมประเพณีศาสนาและวัฒนธรรมป 
  6. อายุการใช้งานบอกกับราคาจำหน่าย
กระบวนการผลิตงานประดิษฐ์ในงานอาชีพ ขั้นตอนการผลิตงานประดิษฐ์เป็นลักษณะแบบแผนและลำดับขั้นตอนขึ้นอยู่กับงานประดิษฐ์แต่ละชนิด สามารถสรุปกระบวนการได้ดังนี้
ขั้นที่ 1 สำรวจความต้องการของตลาด กลุ่มเป้าหมาย
ขั้นที่ 2 วิเคราะห์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายว่าต้องการอะไร เช่น เพื่อการใช้สอย ใช้งานสะดวก ความทันสมัย สวยงาม ราคา เป็นต้น
ขั้นที่ 3 วางแผนการออกแบบ ซึ่งต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของผลิตภัณฑ์ตามการวิเคราะห์
ขั้นที่ 4 ออกแบบหลายๆแบบไว้เผื่อเลือก เพื่อให้ได้แบบที่ต้องการมากที่สุด
ขั้นที่ 5 สร้างแบบจำลองหรือผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง ทดลองตลาดดูความต้องการของกลุ่มเป้าหมายว่ามีความต้องการผลิตภัณฑ์ชิ้นไหน
ขั้นที่ 6 ทำการผลิต แนะนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด เริ่มตั้งแต่การผลิต การโฆษณา การส่งเสริมการขาย
ขั้นที่ 7 การประเมินผลเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์
ขั้นที่ 8 ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัยจากข้อมูลผลการประเมินผล


อ้างอิงหนังสือ
นางสาวสุชาดา วราหพันธ์.  (2557).  ผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์:  งานประดิษฐ์.  พิมพ์ครั้งที่ 1.  กรุงเทพมหานคร:  บริษัท สำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด.
อ้างอิงภาพที่1
https://p-dit.com/2017/01/17/8213/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น