บทที่ 2 ประเภทงานประดิษฐ์

บทที่ 2
 ประเภทของงานประดิษฐ์

วัตถุประสงค์
1.สามารถบอกความหมายของแต่ละประเภทของงานประดิษฐ์
2.สามารถนำไปประดิษฐ์ไว้ใช้งานได้
3.สามารถรู้ขั้นตอนการประดิษฐ์ผลงาน

    งานประดิษฐ์ เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ ในชีวิตประจำวัน มีทั้งงานที่สืบทอดต่อๆ กันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ และ งานที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ โดยใช้วัสดุต่างๆกัน เช่น เศษวัสดุเหลือใช้ วัสดุจากธรรมชาติ วัสดุสังเคราะห์ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

งานประดิษฐ์แบ่งตามวิธีการสร้างสรรค์และวัสดุที่ใช้
1 ประเภทเย็บปักถักร้อย มี 2 ประเภท คือ
      1.1 ประเภทเย็บปะและปัก ประกอบด้วยวัสดุ 2 ชิ้นชิ้นที่ 1 เป็นระนาบรองรับวัสดุที่ใช้ ได้แก่ ผ้ากระดาษหนัง วัสดุอีกชิ้นที่เป็นเส้น ได้แก่ เส้นด้าย หรือแผ่น เช่น เศษผ้ามาเย็บปะ และปักให้เกิดลวดลายบนพื้นระนาบ วิธีการปักนี้จะใช้ด้ายสีต่างๆ ดิ้นเงิน ดิ้นทอง เลื่อม มุก ลูกปัด ทำให้เกิดลวดลายสวยงาม สำหรับวิธีการเย็บปะจะใช้เศษผ้าสีมาติดเป็นรูปร่าง เช่น ลายดอกไม้ ตุ๊กตา แล้วเย็บตามขอบริมให้ติดกับพื้นระนาบรับรอง


                               ภาพที่ 1 การปักด้วยมุกและเลื่อม                        ภาพที่ 2  การเย็บปะ

                                                                                                                      
วิธีการเย็บปักปะ


      วิดีโอที่ 1 การเย็บตะเข็บงานปักปะ

         1.2 ประเภทถักและร้อย เป็นการประดิษฐ์ที่ทำให้เกิดรูปทรงด้วยวัสดุในตัวเอง เช่น การถักไหมพรม การถักเชือก ป่าน ปอ การถักด้วยด้าย โดยใช้เข็มถักหรือมือถักให้เป็นแผ่นหรือเป็นเส้นหนา ส่วนการร้อย วัสดุที่ใช้จะมีรูตรงกลาง เช่น ลูกปัด ไข่มุก มาร้อยเป็นเส้นออกแบบ เลือกสี ทำลวดลาย ประดิษฐ์เป็นเครื่องประดับต่างๆ เช่น สร้อยคอ สร้อยข้อมือ
2 ประเภททอและสาน เป็นศิลปะประดิษฐ์ ที่มีคุณค่าทางประโยชน์ใช้สอย โดยใช้วัสดุประเภท ด้าย ไหม เชือก กก หวาย มาขัดระหว่างเส้นยืนและเส้นนอน ให้เกิดเป็นความกว้าง ความยาว และความหนา เกิดเป็นรูปร่าง เช่น ตะกร้า



ภาพที่ 3 การทอผ้า

วิธีการทอผ้า


วิดีโอที่ 2 ขั้นตอนการทอผ้า

3. ประเภทการปั้นและแกะสลัก
       3.1 งานปั้นเป็นการสร้างสรรค์ที่มีความประณีตบรรจง ในการทำ เช่น การใช้แป้งขนมปังและดินญี่ปุ่น ปั้นเป็นดอกกุหลาบจิ๋ว ปั้นตุ๊กตา นำไปประดับตกแต่ง
        3.2 งานแกะสลัก หมายถึ งการแกะสลักและการฉลุให้เป็นลวดลายลงบนวัสดุเนื้ออ่อนหรือผักผลไม้

                 
ภาพที่ 4 การแกะสลัก

วิธีการแกะสลัก


วิดีโอที่ 3 แกะสลักใบไม้จากแตงกวา

4. ประเภทเขียนลวดลาย  ใช้วัสดุอุปกรณ์ในการเขียนให้เกิดลวดลายมีทางที่เลียนแบบจากธรรมชาติ และลวดลายที่ประดิษฐ์ใหม่ด้วยดินสอ พู่กัน และสีต่างๆ ลวดลายที่เขียนนอกจากจะเขียนให้เกิดลวดลายตามที่ต้องการแล้วยังสามารถใช้วิธีอื่นๆได้อี กเช่น การพิมพ์การขีด การขูด

                     

ภาพที่ 5 การเพ้นผ้า

วิธีการเพ้นสี

วิดีโอที่ 4 D.I.Y เพ้นกระเป๋า

5 ประเภทดอกไม้ งานประดิษฐ์กลุ่มนี้แบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ
        5.1 ประเภทใช้วัสดุจากธรรมชาติงานประดิษฐ์ประเภทนี้ใช้ดอกไม้สด ใบไม้ เช่น ดอกกุหลาบมอญ ดอกพุด ดอกรัก ดอกมะลิ ดอกบานไม่รู้โรย ใบตอง ใบแก้ว ใบกระบือ มาประดิษฐ์ตกแต่งโดยใช้วิธีการร้อยการกรอง การเย็บแบบ การปักแจกัน
       5.2 ประเภทงานที่ใช้วัสดุสังเคราะห์ ประดิษฐ์เลียนแบบดอกไม้จากธรรมชาติ ซึ่งความคงทนถาวรกว่าและสีสันสวยงามใกล้เคียงธรรมชาติ วัสดุที่ใช้ประดิษฐ์ได้แก่ ผ้า กระดาษ พลาสติก

    
ภาพที่ 6 พานไหว้ครูจากวัสดุธรรมชาติ

วิธีการทำพานไหว้


วิดีโอที่ 5 วิธีการทำพานไหว้ครูแบบง่ายๆ

6 ประเภทวัสดุเหลือใช้ การนำวัสดุเหลือใช้มาออกแบบใช้กับงานประดิษฐ์ไม่จำกัดว่าต้องเป็นวัสดุประเภทใดสามารถใช้ได้ทุกชนิดอยู่ที่ความสามารถในการออกแบบของผู้ผลิตที่จะทำให้เกิดผลงานที่มีคุณค่าและประโยชน์ใช้สอย


ภาพที่ 7 งานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้

วิธีการประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุเหลือใช้

วิดีโอที่ 6 ประดิษฐ์ของเล่นจากแก่นกระดาษทิชชู่

งานประดิษฐ์แบ่งตามประโยชน์ใช้สอย
  1 ประเภทของเล่น เช่น รถลาก ตุ๊กตา พับกระดาษเป็นรูปสัตว์ 
  2 ประเภทของใช้หรือเครื่องใช้ เช่น หมอนอิง กระเป๋าผ้า กล่องใส่เครื่องประดับ
  3 ประเภทประดับตกแต่ง เช่น กรอบรูป นาฬิกา ลวดลายบนกระจก โคมไฟ
  4 ประเภทของขวัญของที่ระลึก เช่น บ้านทรงไทยจำลอง ดอกไม้จากดิน

ขั้นตอนการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์
    1 ขั้นการออกแบบ ควรดูวัสดุของผลิตภัณฑ์ที่จะประดิษฐ์ว่าต้องการนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร เช่นื ใช้เป็นของเล่น ใช้เป็นตกแต่งบ้านหรือเครื่องแต่งกาย ใช้เป็นของใช้
    2 ขั้นการเลือกวัสดุ ในขั้นตอนนี้ควรคำนึงถึงความปลอดภัย ความคุ้มค่า และงบประมาณ นอกจากนี้ควรพิจารณาความเหมาะสมกับรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบ
   3 ขั้นตอนการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ เริ่มจากการสร้างแบบ เตรียมวัสดุอุปกรณ์ ลงมือปฏิบัติงานจนสำเร็จทดสอบการใช้งาน 
   4 ขั้นตอนการประเมินผล เป็นขั้นตอนการตรวจสอบชิ้นงานว่ามีคุณภาพตามที่ตั้งวัสถุประสงค์ไว้หรือไม่ ควรมีการปรับปรุงแก้ไขอย่างไร



อ้างอิงหนังสือ 
นางสาวสุชาดา วราหพันธ์.  (2557).  ประเภทของงานประดิษฐ์:  งานประดิษฐ์.  พิมพ์ครั้งที่ 1.  กรุงเทพมหานคร:  บริษัท สำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด.

อ้างอิงภาพที่ 1 

อ้างอิงภาพที่ 2

อ้างอิงภาพที่ 3

อ้างอิงภาพที่ 4

อ้างอิงภาพที่ 5

อ้างอิงภาพที่ 6

อ้างอิงภาพที่ 7

อ้างอิงวิดีโอที่ 1

อ้างอิงวิดีโอที่ 2

อ้างอิงวิดีโอที่ 3

อ้างอิงวิดีโอที่ 4

อ้างอิงวิดีโอที่ 5

อ้างอิงวิดีโอที่ 6

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น